แชร์

สัญญาณเตือน! ว่าลูกคุณ กำลังเสี่ยงเป็น "ออทิสติกเทียม"

อัพเดทล่าสุด: 7 พ.ค. 2025
51 ผู้เข้าชม

สัญญาณเตือน! ว่าลูกคุณ กำลังเสี่ยงเป็น "ออทิสติกเทียม"


"ออทิสติกเทียม" (Virtual Autism) เป็นภาวะที่เด็กแสดงอาการคล้ายกับเด็กที่เป็นออทิสติก แต่ไม่ได้มีภาวะออทิสติกจริง ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม แต่เกิดจากการที่เด็กขาดการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสม ไม่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่สมวัย ขาดโอกาสในการเรียนรู้และเล่นกับผู้อื่นตามวัยที่ควรจะเป็น

ปัจจัยที่ก่อให้เกิด "ออทิสติกเทียม"

  1. ขาดการสื่อสารสองทาง
    เมื่อเด็กไม่ได้รับการกระตุ้นให้สื่อสารและโต้ตอบอย่างเหมาะสม พัฒนาการทางภาษาและสังคมก็จะล่าช้า
  2. ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมากเกินไป
    เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะเด็กจะได้รับการสื่อสารแค่ทางเดียว ไม่มีการตอบโต้ ขาดปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก
  3. รูปแบบการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครอง
    การที่พ่อแม่ทำให้ลูกทุกอย่างโดยไม่ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตนเอง หรือการที่พ่อแม่ไม่มีเวลาพูดคุย เล่น หรือสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกอย่างเพียงพอ ก็สามารถนำไปสู่ภาวะออทิสติกเทียมได้เช่นกัน

อาการสำคัญของ "ออทิสติกเทียม"
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
  • เด็กอาจแสดงอาการไม่สนใจเพื่อนในวัยเดียวกัน ชอบเล่นคนเดียว ไม่สบตาเวลาพูดคุย และไม่ตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ ไม่เข้าใจอารมณ์และไม่มีความสนใจร่วมกับผู้อื่น
การสื่อสาร
  • มีพัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้า พูดช้า หรือพูดภาษาที่คนอื่นไม่เข้าใจหรือพูดเป็นภาษาการ์ตูน ซึ่งจะไม่สามารถบอกความต้องการของตนเองได้และมักแสดงออกด้วยการร้องไห้งอแงหรืออาละวาด
พฤติกรรม
  • เด็กจะติดแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนมาก ไม่สนใจกิจกรรมอื่นๆ ไม่มีการเล่นบทบาทสมมติง่ายๆ หรือไม่ใช้ภาษาพูดร่วมกับท่าทาง

ปัจจุบัน พบว่ามีเด็กที่มีภาวะออทิสติกเทียมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน มีการใช้เวลาอยู่กับหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น และการเลี้ยงดูที่ไม่เน้นการสื่อสารสองทางและการมีปฏิสัมพันธ์ที่เพียงพอระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองกับเด็ก ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กเกิดภาวะนี้ได้และเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัยและห่างไกลจากภาวะออทิสติกเทียม การปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดูและกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม ด้วยความเข้าใจและการดูแลที่ถูกต้อง ลดเวลาการใช้หน้าจอ ให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย ก็จะช่วยให้เด็กที่มีภาวะออทิสติกเทียมกลับมามีพัฒนาการที่สมวัยได้ค่ะ

ที่มา: พญ. ดวงเดือน ชินรุ่งเรือง โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล (ศรีนครินทร์)


บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำไมหัวลูกน้อย "เต้นตุบๆ" ตลอดเวลา
"กระหม่อมทารก" (หรือที่เรียกว่า ฟอนตาเนลล์ (fontanelles)) คือ ช่องว่างระหว่างกระดูกหลัก 5 ชิ้นของกะโหลกศีรษะ (ที่ทำให้พ่อแม่เห็นศีรษะลูกน้อยเต้นตุบๆ)
6 สิ่ง ที่คุณอาจไม่รู้ว่าลูกน้อยของคุณ "ทำได้ดี"
ใครจะคิดว่า "ทารก" มีความสามารถที่น่าทึ่งเกินกว่าที่คุณจะจินตนาการ
เทคนิค "แปรงฟัน" ให้ลูกน้อยครั้งแรก
ขั้นตอนการแปรงฟันของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกหนักใจ โดยเฉพาะครั้งแรกของคุณ สิ่งสําคัญคือต้องทำอย่างช้าๆ และอ่อนโยน
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ